เหล็กกล่อง STEEL TUBE คืออะไร ขนาดของเหล็กกล่อง การเลือกซื้อ มีเทคนิคอย่างไร
เหล็กกล่องคืออะไร
เหล็กกล่อง หรือเหล็กท่อแบน หรือเหล็กแป๊บ เป็นเหล็กรูปพรรณ ที่ผ่านกรรมวิธีการรีดร้อน ทำเป็นรูปต่างต่างๆ เพื่อตอบสนองการใช้งานที่ต่างกัน การใช้งานหลัก ๆ คือ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติของหน้าตัด รับแรงต้านทานตอนใช้งาน ใช้เป็นโครงสร้างอาคาร คานเหล็ก โครงหลังคาเหล็ก โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท สิ่งสำคัญในการทำโครงสร้างนั้น ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างต้องเช็คขนาดเหล็กในการใช้งาน เช็คน้ำหนักเหล็กกล่อง คุณภาพของเหล็ก เป็นต้นเพื่อให้โครงสร้างของเรานั้นมีคุณภาพและได้มาณตราฐานที่สุดนั้นเอง
เหล็กกล่องแบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
- เหล็กกล่องสี่เหลี่ยม (Square Steel Tube)
ชื่อเรียกอื่นๆ คือ เหล็กกล่อง, เหล็กแป๊บโปร่ง มีความยาว 6 เมตรต่อเส้น มีลักษณะเป็นท่อสี่เหลี่ยมจัตุรัสข้างในกลวง เป็นมุมฉาก ไม่มน ต้องได้มุม 90 องศา ผิวเรียบ ไม่หยาบ ความยาวที่วัดได้ต้องผิดพลาดไม่เกิน 2 เปอร์เซ็น
ขนาดต้องเท่ากันทุกๆเส้น การใช้งานของเหล็กประเภทนี้ คือ เหมาะกับงานที่โครงสร้างที่รองรับน้ำหนักไม่มาก เช่น นั่งร้าน เสา และสามารถใช้แทนคอนกรีต หรือไม้ ได้และเหล็กรูปพรรณอื่นๆได้
2.เหล็กกล่องสี่เหลี่ยมแบน หรือเหล็กแป๊บแบน (Rectangular Steel Tube)
ชื่อเรียกอื่นๆ คือ เหล็กกล่องแบน, เหล็กกล่อง, กล่องไม้ขีด, เหล็กหลอดเหลี่ยม มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นเหล็กรูปพรรณที่ผ่านการรีดร้อนมาแล้ว โดยมีลักษณะเป็นท่อรูปทรงสี่เหลี่ยมผินผ้า ข้างในกลวง มีความยาว 6 เมตร ต่อ เส้น ความยาวที่วัดได้ต้องผิดพลาดไม่เกิน 2 เปอร์เซ็น เหมาะสำหรับงานก่อสร้างที่มีขนาดเล็ก และ ขนาดกลาง สามารถใช้ทดแทนไม้ และคอนกรีตได้ มีน้ำหนักเบา และทนทาน
ขนาดของเหล็กกล่อง
ท่อเหลี่ยม แป๊ปเหลี่ยม เหล็กกล่อง มีหลายขนาด และมีวิธีการเลือกซื้อวัสดุเพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพตาม(มอก.)โดยมีขนาดต่าง ๆ ดังนี้
- 6″ X 4″ 4.5 มม. (มอก.)
- 8″ X 4″ 6.0 มม. (มอก.)
- 5″ X 3″ 3.2 มม. (มอก.)
- 4″ X 4″ 3.2 มม. (มอก.)
- 4″ X 2″ 3.2 มม. (มอก.)
- 3″ X 3″ 3.2 มม. (มอก.)
- 2″ X 2″ 3.2 มม. (มอก.)
- 2″ X 2″ 2.3 มม. (มอก.)
- 1-1/4″ X 1-1/4″ 2.3 มม. (มอก.)
- 1-1/2″ X 1-1/2″ 2.3 มม. (มอก.)
- 1″ X 1″ 2.3 มม. (มอก.)
การเลือกซื้อวัสดุประเภท ท่อเหลี่ยม แป๊ปเหลี่ยม เหล็กกล่อง ที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้
- เหล็กคุณภาพ SS400
- เหล็กที่ผลิตต้องได้เต็มนิ้ว เต็ม มม. ที่กำหนด
- ดูที่น้ำหนักจริง ไม่ใช่เพียงแต่ดูที่ความหนา (เพราะความหนาโดยมากตรวจวัดด้วยตาไม่เห็น)
- เหล็กล่องต้องได้ฉาก
- ความยาวต้อง 6 ม. เต็ม
- ควรมีใบ มอก. ประกอบการขาย เช่น เหล็กคุณภาพ แปซิฟิกไพพ์
คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจ
เหล็กกล่องสี่เหลี่ยม และเหล็กกล่องสี่เหลี่ยมแบน ทำให้งานก่อสร้างเสร็จได้รวดเร็วกว่างานคอนกรีต และทำให้ได้โครงสร้างที่มีช่วงกว้างกว่า และมีน้ำหนักเบากว่า
เหมาะกับงานก่อสร้างขนาดกลางและขนาดเล็ก เช่น ที่พักอาศัย และอาคารพานิชย์ สำนักงาน ออฟฟิศ โครงหลังคาเหล็ก คานเหล็ก โครงสร้างโรงจอดรถ เป็นต้น ทั้งนี้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายตามความต้องการ
การทำจุดต่อของท่อเหล็ก สามารถเชื่อมต่อได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความถนัดและความเหมาะสมกับงาน การเกิดสนิมผิวในท่อ ป้องกันได้เพียงนำท่อเหล็กมาปิดหัวปิดท้าย ก็สามารถป้องกันการเกิดสนิมในท่อได้สนิม
เกิดเมื่อมีปริมาณของความชื้นของน้ำและอากาศที่มากพอจนสามารถทำให้เกิดปฏิกริยาเคมีบนผิวของท่อเหล็ก ท่อที่ผลิตได้มาตรฐาน แต่ละประเภทสามารถใช้แทนกันได้ แต่ต้องตรวจสอบสเปคเหล็กกล่องของท่านตามประเภทการใช้งานก่อน