การฝึกกีฬาเฉพาะด้านและการสวมเครื่องประดับแม่เหล็ก
เด็ก ๆ มักอยากฝึกกีฬาเฉพาะด้านอยู่ลึก ๆ แม้ว่าอาจจะไม่ได้สังเกตก็ตาม พวกเขาอยากเข้าร่วมทีมชื่อดังตั้งแต่อายุยังน้อย ต้องการฝึกกีฬานั้น ๆ ตลอดทั้งปีและคิดว่าการฝึกกีฬาประเภทอื่นหรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ นั้นเป็นเรื่องที่ทำให้เสียเวลา และก็มีผู้ฝึกสอนหรือหน่วยงานหลายแห่งที่ต้องการจะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นเช่นกัน แต่ผู้เชี่ยวชาญเช่นแพทย์และแม้แต่นักกีฬาอาชีพกลับออกมาเตือนว่าการเล่นกีฬาเฉพาะด้านเร็วเกินไปอาจทำให้ประสบความสำเร็จลดต่ำลงและอาจจะเป็นอันตรายได้
พ่อแม่มักเป็นผู้ที่อยู่ตรงกลาง เวลาไหนที่คุณช่วยสนับสนุนพรสวรรค์ของลูกและเมื่อไรที่คุณจะต้องผลักดันอย่างหนักเพื่อให้พวกเขาไปให้ถึงฝันที่อาจจะไม่เป็นจริง ? เมื่อไรที่คุณกำลังสนับสนุนความต้องการของลูกและเมื่อไรที่คุณกำลังทำ
การเล่นกีฬาเฉพาะด้านคืออะไร
โดยทั่วไปการเล่นกีฬาเฉพาะด้านนั้นหมายถึงการเล่น (หรือฝึกฝน) กีฬาชนิดเดียวตลอดทั้งปี มีการศึกษาในนักกีฬาเด็กที่ให้เด็กจัดระดับการฝึกกีฬาเฉพาะด้านของตัวเอง โดยแต่ละข้อต่อไปนี้มีคะแนน 1 คะแนนและทั้งหมดมีคะแนนเต็มคือ 6 คะแนน
- ฝึกซ้อมกีฬาเพียงชนิดเดียวมากกว่า 75%
- ฝึกเพื่อพัฒนาทักษะหรือใช้เวลากับเพื่อนน้อยลงเนื่องจากต้องเข้าร่วมการฝึก
- เลิกเล่นกีฬาอย่างอื่นเพื่อเน้นที่กีฬาชนิดเดียว
- คิดว่ากีฬาชนิดเดียวมีความสำคัญมากกว่ากีฬาชนิดอื่น
- เดินทางออกนอกรัฐบ่อย ๆ
- ใช้เวลาฝึกซ้อมมากกว่า 8 เดือนใน 1 ปีหรือเข้าร่วมการแข่งขันมากกว่า 6 เดือนใน 1 ปี
ความเสี่ยงของการเล่นกีฬาเฉพาะด้าน
จากการศึกษาพบว่าผู้ที่มีคะแนนเฉพาะด้านสูงกว่าจะเกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬามากกว่า การบาดเจ็บจากการใช้งานมากเกินไปนั้นเป็นหนึ่งในเรื่องใหญ่ที่ต้องกังวลเมื่อนักกีฬาฝึกฝนกีฬาชนิดเดียว
นอกจากนั้นการฝึกกีฬาเฉพาะด้านอาจจำกัดการพัฒนาด้านการเคลื่อนไหวตามปกติ หากเด็กใช้เวลาทั้งหมดไปกับการฝึกซ้อมฟุตบอล พวกเขาก็จะไม่ได้เรียนรู้หรือพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการว่ายน้ำ เล่นวอลเลย์บอล หรือปั่นจักรยาน ผู้เล่นซอฟต์บอลอาจใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการฝึกโยนลูกแทนการวิ่งหรือฝึกรับลูก
การเล่นกีฬาเพียงชนิดเดียวยังอาจทำให้เกิดอาการวิตกกังวลและรู้สึกท้อถอยได้ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือการฝึกกีฬาเฉพาะด้านเป็นการนำความสนุกออกไปจากการเล่นกีฬา การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Sport Behavior รายงานว่ามีผู้ใหญ่วัยรุ่นซึ่งเคยฝึกกีฬาเฉพาะด้านมาก่อนในสมัยเด็กมีแนวโน้มที่จะเล่นกีฬาน้อยลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เด็กที่ใช้เวลาทั้งหมดไปกับการเล่นกีฬาเพียงอย่างเดียวอาจจะพลาดโอกาสในการลองเล่นกีฬาอื่น ๆ ที่ตัวเองอาจจะชอบเล่นไป เนื่องจากพวกเขาไม่มีโอกาสได้ลองกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไปมากนัก
สุดท้ายก็คือไม่มีอะไรการันตีได้ว่าการฝึกกีฬาเฉพาะด้านนั้นจะทำให้ประสบความสำเร็จในอาชีพนักกีฬาไม่ว่าคุณและลูกของคุณจะต้องผ่านแรงกดดันมากขนาดไหนก็ตาม (หากเขาไม่เล่นกีฬาในทีมที่เดินทางไปแข่งขันที่อื่นในตอนนี้แล้วละก็ เขาก็อาจจะไม่ได้เล่นกีฬาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและอาจจะไม่ได้ทุนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย)
นายแพทย์ John P. DiFiori ประธานสมาคมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาและแพทย์ประจำทีมนักกีฬาของมหาวิทยาลัย UCLA ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ในที่ประชุมสมาคมว่า “จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่าความน่าจะเป็นที่จะสามารถเล่นกีฬาได้จนถึงระดับสูงด้วยวิธีการนี้นั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก นอกเหนือจากกีฬาบางประเภท เช่น ยิมนาสติกที่ผู้เข้าแข่งขันทุกคนมีอายุน้อย ในความจริงแล้ว การศึกษาบางชิ้นยังพบว่าการฝึกกีฬาเฉพาะด้านเร็วเกินไปนั้นมักจะไม่ได้ทำให้ประสบความสำเร็จมากกว่าการเข้าร่วมกีฬาหลายชนิดในวัยเด็กแล้วจึงฝึกกีฬาเฉพาะด้านเมื่อโตขึ้นภายหลัง”
ข้อดีของการฝึกกีฬาเฉพาะด้าน
เมื่อลูกของคุณเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นแล้วนั้น การฝึกกีฬาเฉพาะด้านก็จะไม่ได้มีความเสี่ยงมากเหมือนเมื่อก่อนและยังอาจเป็นประโยชน์อีกด้วย การฝึกเฉพาะด้านทำให้เด็กสามารถพัฒนาทักษะในกีฬานั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี และหากพวกเขาประสบความสำเร็จก็จะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับความสามารถของพวกเขา พวกเขาอาจได้เดินทางไปหลาย ๆ ที่และพบเจอกับผู้คนหลายกลุ่ม และแน่นอนบางคนอาจจะได้รับทุนการศึกษาด้านกีฬาหรือสร้างอาชีพให้กับตัวเองในสายนี้ได้ หากลูกของคุณชื่นชอบการเล่นกีฬาอย่างมาก มีความสุขกับการเล่น รู้จักระมัดระวังและลดความเสี่ยงที่จะได้รับการบาดเจ็บ การฝึกกีฬาเฉพาะด้านก็อาจเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์เช่นกัน
สวมเครื่องประดับมีประจุหรือแม่เหล็ก ทําให้เล่นกีฬาได้ดีขึ้นจริงไหม
เมื่อตอนที่แจ็ค ลูกชายผม เข้าร่วมทีมเบสบอล เขาได้รับแจกอุปกรณ์ประจําทีม อันประกอบด้วยกระเป๋าสะพายที่มีตราประจําทีม แว่นกันแดด ถุงมือเบสบอล และที่น่าแปลกใจคือ สร้อยไอออนหนึ่งเส้น ในขณะที่พวก วัยรุ่นรู้สึกว่าสร้อยนั้นกระตุ้นความฝันที่จะได้เล่นเมเจอร์ลีกให้ใกล้ความจริงมากขึ้น ลูกชายผมกลับเอาใส่คืนในกระเป๋าตามเดิม ผมคิดว่าเป็นเพราะลูกโตมากับผม แจ็คฉลาดพอจะรู้ว่า การสวมสร้อยอะไรก็ตาม เป็นคนละเรื่องกับการพัฒนาฝีมือการเล่นเบสบอล
เว็บไซต์ของผู้ผลิตสร้อยกล่าวอ้างไว้อย่างสวยหรูว่า “สร้อยไอออนจะเพิ่มความสามารถให้ถึงขีดสุด ด้วยการปรับสมดุลประจุบวกที่อยู่ล้อมรอบตัวเราให้เป็นกลาง” เขาอ้างว่า เมื่อสวมใส่จะเกิดคุณสมบัติในการเยียวยาทําให้รู้สึกสบายและสมดุล ระบบภูมิต้านทานทํางานดี เพิ่มพละกําลังอํานาจ สมาธิ และช่วยให้หลับสนิท เสียแต่ว่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่มีข้อพิสูจน์ ว่าเป็นความจริง สร้อยคอและสร้อยข้อมือเหล่านั้นไม่สามารถปล่อยประจุ ลบออกมาได้หรอกครับ และถึงจะปล่อยออกมาได้จริง ๆ ก็ไม่มีข้อพิสูจน์ ทางวิทยาศาสตร์ว่า จะให้ผลดีต่อสุขภาพหรือเพิ่มสมรรถนะทางกีฬาได้แต่อย่างใด
ความนิยมสร้อยไอออนไม่ได้มีอยู่แค่ในวงการเบสบอล นักกีฬาที่มีชื่อเสียง ไม่ว่าจะบาสเก็ตบอล กอล์ฟ หรือฟุตบอล เหล่าพระเอกในหนังแอคชันก็สวมครับ เป็นเรื่องน่าเศร้าที่การนําเสนอเหล่านี้ ชักชวนให้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ต้องเสียสตางค์ให้กับของที่ไม่มีคุณค่าที่พิสูจน์ได้จริง
บทสรุปของหมอเบซเซอร์
ตัวอย่างที่เด่นชัดของผลงานวิทยาศาสตร์จอมปลอมไร้การพิสูจน์ที่ผู้ผลิตนำมา หลอกลวงขายโกยเงินมหาศาล อย่างไร้ความสํานึกต่อสุขภาพของผู้บริโภค ได้แก่ เครื่องประดับไอออนและแม่เหล็ก เวลาคุณพบคําอ้างว่ากรรมวิธีใด (ที่ไม่ใช่การแพทย์มาตรฐาน) บําบัดโรคได้ผล ลองปรึกษาหมอของคุณเสียหน่อย ก่อนจะเสียรู้จ่ายเงิน ที่หามาด้วยหยาดเหงื่อของคุณซื้อมัน หากคุณซื้อเพราะอยากจะมีกับเขาบ้าง อย่างนั้นก็ไม่เป็นไร แต่จะเป็นอีกเรื่องถ้าคุณซื้อมาใช้ แทนการรักษามาตรฐานซึ่งพิสูจน์มาแล้วว่า ช่วยคุณได้จริง
หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง นายแพทย์ริชาร์ด เบซเซอร์ ได้โดยการซื้อหนังสือ “ความจริงจากหมอไขข้อกังขาปัญหาสุขภาพ”